KS VentFlow – Roof Ventilator

Rooftop

KS VentFlow - Roof Ventilator
ระบบหลังคาระบายอากาศ

KS VentFlow ระบบหลังคาระบายอากาศ ที่ทำให้อาคารเย็นกว่าเดิม ลดอุณหภูมิในอาคารได้สูงสุดถึง 6.7 oC ช่วยลดความร้อน ระบายความร้อนได้ดี และเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ นอกจากนี้ถ้าหากเป็นอาคารที่สามารถออกแบบให้มีช่องเปิดบนจั่วหลังคา จะทำให้ลดอุณหภูมิภายในโรงงานได้ถึง 12 oC สินค้ามี 2 รุ่นคือ KS VentFlow600 และ KS VentFlow700 ที่สามารถใช้ได้กับหลังคาทุกรูปลอน มีความแข็งแรงด้วยโครงเฟรมปั๊มขึ้นรูป มาพร้อมกับผนังเหล็ก และไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม ด้วยชุดครอบพิเศษ รวมถึงตะแกรงที่กันนก หนู กระรอก เข้ามาในอาคารอีกด้วย

คุณสมบัติเด่น

  • เพิ่มการไหลเวียนถ่ายเทอากาศ และช่วยระบายความร้อนออกสู่ภายนอกอาคาร
  • สร้างภาวะเย็นสบายให้กับผู้อยู่ในอาคาร
  • ด้วยลักษณะครอบข้างแบบพิเศษ ไม่กีดขวางลม และทำให้น้ำฝนไม่หยดเข้าไปในอาคาร
  • โครงเฟรมแข็งแรง รับแรงได้ดี โดยการปั๊มขึ้นรูปทั้งชิ้น
  • เหมาะกับหลังคาทุกรูปลอนและติดตั้งที่มุมลาดเอียงต่ำสุดเพียง 1 องศา
  • น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย รวดเร็ว สามารถผลิตรีดขึ้นรูปได้ตามความยาวที่ต้องการ
  • ทนทานต่อการกัดกร่อน ทำให้อาคารมีอายุการใช้งานยาวนาน

ระบบหลังคาระบายอากาศสำเร็จรูป
ประกอบด้วย

  1. โครงเฟรมปั๊มขึ้นรูป มีหน้ากว้าง 1180 มม. สูงถึง 1250 มม. หนา 1.50 มม. ( -  )
  2. ฐานแท่นครอบ ( -  )
  3. ด้านบนปิดด้วยแผ่นโปร่งแสง ( - , ) และสามารถพิ่มแผ่นตะแกรงกันนก ในกรณีที่ลูกค้าต้องการ
  4. แผ่นผนังเหล็ก (  ) และแผ่นครอบข้างแบบพิเศษ เคลือบกันสนิมด้วยเหล็ก Zincalume หนา 0.47 มม. ( - , - )

Dimension

B (mm) H (mm) A (mm) Thickness, BMT (mm) Length (mm)
H1 H2* tf frame ts siding tsf Flashing
1,180 950 70 - 300 320 1.50 0.42 0.42 custom length

*H2 ขึ้นอยู่กับความหนาของฉนวน และความสูงลอนของแต่ละรูปลอน

Press Frame
Arm Frame
Post Frame
Skylight connector

Skylight
Z-bar
Z-Flow Connector
Flat Bar Slope

C-Clip support
Tower support
Grating clip
Hip Capping

Rain Protection Flashing
KS PeaCock (Walling)
End Flashing
Junction Flashing

เทคนิคสำหรับการระบายอากาศภายในโรงงานหรือภายในอาคาร

สามารถแบ่งออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่ ระบบแบบ Active Ventilation และระบบแบบ Passive Ventilation

  1. ระบบแบบ Active Ventilation จะอาศัยงานทางกล เช่น พัดลม และระบบปรับอากาศ หรือ อาศัยงานทางความร้อน เช่น Adsorption Chiller ในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารและโรงงาน
  2. ระบบแบบ Passive Ventilation จะอาศัย Natural Convective Circulation ของอากาศที่มีความแตกต่างของความหนาแน่นตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละบริเวณภายในอาคารหรือโรงงาน ในการควบคุมอุณหภูมิของอากาศภายในอาคารและโรงงาน ดังเช่น งานวิจัยของปัณณฑัต และคณะ ที่ดำเนินการศึกษาการกระจายตัวของอุณหภูมิภายในโรงงานในกรณีที่โรงงานมีหลังคาปิด และกรณีที่มีช่องเปิดบนหลังคาของโรงงาน ดังรูปที่ 1 ซึ่งพบว่า กรณีที่หลังคาของโรงงานมีช่องเปิดบนหลังคาสามารถที่จะลดอุณหภูมิสูงสุดของอากาศภายในโรงงานได้กว่า 10 ถึง 12 ๐C เนื่องจากช่องเปิดบนหลังคาทำให้อากาศร้อนบริเวณใต้หลังคาที่มีอุณหภูมิสูงจากการรับพลังงานความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ สามารถลอยตัวขึ้นผ่านช่องเปิดดังกล่าวดังรูปที่ 2 ส่งผลให้มวลอากาศเย็นสามารถไหลผ่านประตู หรือช่องเปิดของผนังอาคารเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น ยังผลให้พื้นที่ของอาคารหรือโรงงานโดยรวมมีอุณหภูมิต่ำลง ซึ่งการใช้ระบบระบายอากาศแบบ Passive นี้ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในการระบายอากาศภายในอาคารหรือ โรงงานที่มีปริมาตรขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่ต้องการงานภายนอกสำหรับระบบ จึงไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับการระบายอากาศเช่นเดียวกับระบบระบายอากาศแบบ Active Ventilation

Passive Ventilation (การระบายอากาศแบบลมธรรมชาติ) จะอาศัยการไหลเวียนของอากาศ โดยลมธรรมชาติ (Natural Convective Circulation) ซึ่งก็คือ “อากาศร้อนจะลอยขึ้นที่สูง และอากาศเย็นจะไหลเข้ามาแทนที่” ทำให้ลดความร้อนลง โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อทำให้อาคารเย็นเร็วขึ้น นั่นก็คือ ทำให้การไหลเวียนถ่ายเทของอากาศ มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

หลังคาจั่วแบบปิด

หลังคาจั่ว มีช่องเปิดบนหลังคา

หลังคาโค้งแบบปิด

หลังคาโค้ง มีช่องเปิดบนหลังคา

รูปที่ 1 แสดงอุณหภูมิภายในโรงอุตสาหกรรมที่มีหลังคาปิด (ภาพซ้าย) และมีช่องเปิดบนหลังคา (ภาพขวา) ซึ่งพบว่า กรณีที่หลังคาของโรงงานมีช่องเปิดบนหลังคาสามารถที่จะลดอุณหภูมิสูงสุดของอากาศภายในโรงงานได้กว่า 10 ถึง 12

ทั้งนี้เพื่อทำให้ระบบระบายอากาศแบบ Passive Ventilation มีสมรรถนะสูงขึ้น ทาง KS Group จึงได้ทำการออกแบบและปรับปรุงระบบหลังคาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีช่องเปิดระบายอากาศบนหลังคาที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของทางบริษัท โดยใช้ชื่อสินค้าว่า ระบบหลังคาระบายอากาศแบบ KS VentFlow ดังรูปที่ 2 โดย ซึ่งระบบช่องเปิดของหลังคาในลักษณะดังกล่าวนั้น สามารถส่งเสริมการไหลอากาศโดยอาศัย Natural Convective Circulation ได้ดียิ่งขึ้นกว่าช่องเปิดหลังคาโดยทั่วไป

รูปที่ 2 หลังคาระบบระบายอากาศ (KS VentFlow)

KS Group เราไม่หยุดนิ่งในการพัฒนา ขอนำเสนอระบบหลังคาระบายอากาศ KS VentFlow ซึ่งเป็นระบบหลังคาระบายอากาศแบบ Passive Ventilation* ภายใต้ลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท โดยใช้ชื่อสินค้าว่า “ระบบหลังคาระบายอากาศแบบ KS VentFlow” ซึ่งได้ออกแบบ และศึกษาวิจัย โดยได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสถาบัน ม.พระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อยืนยันสมรรถภาพที่สูงขึ้นในการระบายอากาศ และการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร พบว่า

  • อุณหภูมิในตัวอาคารมีการลดลงสูงสุดถึง 6.7 oC และมีการไหลเวียนของอากาศเพิ่มขึ้น ระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
  • ระบบหลังคาระบายอากาศ KS VentFlow สามารถใช้กับหลังคาได้ทุกรูปลอน มีความแข็งแรงด้วยโครงเฟรมปั๊มขึ้นรูป มาพร้อมกับผนังเหล็ก และไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม ด้วยชุดครอบพิเศษกันน้ำย้อนเข้าอาคาร รวมถึงตะแกรงที่กันนก หนู กระรอก เข้ามาในอาคารอีกด้วย

จากรูป จุดตรวจวัดอุณหภูมิที่ระดับความสูงจากพื้นเท่ากับ 1.5 เมตร บริเวณภายในโรงงาน (T1-T6) จุดตรวจวัดค่าความร้อนต่อพื้นที่บริเวณหลังคาโรงงาน (H1-H2) และจุดตรวจวัดค่าความเร็วการไหลอากาศบริเวณทางเข้าโรงงาน (Anemometer)

รูปแบบพฤติกรรมการไหลของอากาศภายในโรงงานต้นแบบที่ติด KS VentFlow700 ขนาดช่องเปิด 700 มิลลิเมตร ระยะห่าง 15 เมตร

หมายเหตุ จากรูป ความเร็วของอากาศบริเวณทางเข้าโรงงาน มีค่าเท่ากับ 0.5 m/s เมื่ออากาศไหลเข้าสู่โรงงานที่ติดอุปกรณ์ KS VentFlow700 ขนาดช่องเปิด 700 มิลลิเมตร ระยะห่าง 15 เมตร ซึ่งมีการระบายอากาศที่ดีกว่าโรงงานต้นแบบ ส่งผลให้ชั้นความร้อนสะสมมีความหนาน้อยกว่าโรงงานต้นแบบ ทำให้อากาศบริเวณด้านหน้าของโรงงานไหลเวียนเข้าสู่บริเวณภายในโรงงานได้ดีขึ้น โดยอากาศจะไหลเวียนภายในโรงงานได้ลดลงเมื่อค่า Heat Flux บริเวณหลังคาสูงขึ้น

*ค่าความร้อนบนหลังคา แสดงด้วยค่าความเข้มพลังงานความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (Heat Flux) ระหว่าง 600 – 800 W/m2 ซึ่งเป็นภาระทางความร้อนในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย
***ศึกษากับโมเดลอาคารขนาด 125x25 m2 ที่ไม่มีช่องเปิดบนจั่วหลังคา

จากรูป ผลการคำนวณด้วยวิธีการคำนวณทางไฟไนต์เอลิเมนต์แบบจำลองโรงงานต้นแบบที่มีการติดตั้ง KS VentFlow700 ขนาดช่องเปิด 700 มิลลิเมตร ที่ระยะห่างการติดตั้ง 5 เมตร 6 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร และมีค่าความร้อนต่อพื้นที่กระทำบนหลังคา 800 W/m2

Installation
ขั้นตอนการติดตั้ง

1. ติดตั้งโครงเฟรมเหล็ก กับโครงสร้างบนหลังคา

2. ติดตั้งฐานแผ่นครอบ และแผ่นโปร่งแสง

3. ติดตั้งแผ่นผนังเหล็ก

4. ติดตั้งแผ่นครอบ

5. ภาพมุมด้านล่าง: ติดตั้งแผ่นครอบข้างพิเศษ เพื่อป้องกันน้ำฝนย้อนเข้าอาคาร

6. ติดตั้งตะแกรง Wiremesh เพื่อป้องกันนกเข้าอาคาร

7. ภาพมุมด้านบน: เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว

8. ภาพมุมด้านบน: เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า