แปลกใจไหมครับว่า อาคารต่างๆ ที่ใช้สกรูปลายสว่าน (Self-drilling screw ที่สามารถเจาะรูด้วยตัวมันเอง) ซึ่งจะมีแหวนยางใต้หัวสกรูที่เป็นซีลกันน้ำ แต่ทำไมจึงยังมีการรั่วซึมเกิดขึ้น รอบๆ สกรู
สาเหตุหนึ่ง ก็คือ น้ำหนักหรือแรงกดที่ใช้ยึดสกรูของช่างติดตั้ง ในการยิงสกรูเพื่อยึดแผ่นเข้ากับโครงสร้างแป การใช้เครื่องมือสว่านยิงสกรู ที่มีรอบเหมาะสม จะทำให้ได้แรงกดที่กำลังดี จะไม่ทำให้แหวนยางปลิ้น และไม่ทำให้แผ่นเสียรูป (ดังรูปกลาง correctly driven) แต่ถ้ากดแรงไป จะทำให้แหวนยางปลิ้น (ดังรูปขวา overdriven) และถ้ากดเบาไป จะทำให้มีช่องว่างระหว่างแหวนยาง กับสกรู (ดังรูปซ้าย Underdriven) ซึ่งทั้ง 2 กรณีจะมีผลทำให้น้ำรั่วซึมเข้าอาคารได้ ดังนั้น สกรูตัวเล็กๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เล็กและไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ตาม เราควรใช้เลือกให้เหมาะสมตามการใช้งาน
วิธีการเลือกสกรู
เนื่องจากสกรูมีหลากหลายรูปแบบ การเลือกใช้สกรู เราควรใช้เลือกให้เหมาะสมตามการใช้งาน ดังนี้
3. สกรูยึดแผ่นครอบเหล็ก แผ่นบานเกล็ด
ใช้สกรูหัวเฮคมีแหวนยางซีลใต้หัวสกรู(Hex head with seal) เช่นกัน และมีขนาดความยาวที่สั้น
4. สกรูยึดขาคลิป ขาคอนเนคเตอร์ สำหรับรูปลอนระบบ Boltless และระบบ Standing Seam
จะใช้สกรูหัวแบน หรือที่เรียกว่า สกรูหัวเวเฟอร์ ซึ่งจะไม่มีแหวนยางใต้สกรู (Wafer head with no seal) นอกจากนี้ ในบางกรณี เช่น งานฝ้าเพดาน ที่ไม่ต้องการให้หัวสกรูเด่นชัด จะใช้สกรูหัวเวเฟอร์ เช่นกัน
ขาคอนเนคเตอร์ลอน KS KlipSeam110
สกรูยึดขาคลิปลอน KS CozySeam38
5. สกรูยึดแผ่นโปร่งแสง
จะใช้สกรูหัวเฮคมีแหวนยางใต้หัวสกรู (Hex head with seal) และจะต้องเพิ่ม Dome Seal Washer ต่างหาก ความยาวสกรูจะขึ้นกับรูปลอนหลังคา
บทสรุป
สกรู หนึ่งองค์ประกอบสำหรับงานติดตั้งหลังคา ผนัง และฝ้าเพดานเหล็ก จากบทความข้างต้นสรุปได้ว่า นอกจากน้ำหนักหรือแรงกดที่ใช้ยึดสกรูของช่างติดตั้งแล้ว ยังต้องเลือกใช้สกรูให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับโครงสร้างอาคาร