เลือกหลังคาอะไรดี? เปรียบเทียบงบประมาณ ระหว่างหลังคาโมเดิร์นเรียบหรู กับหลังคาระบบสกรู

เลือกหลังคาอะไรดี? เปรียบเทียบงบประมาณ ระหว่างหลังคาโมเดิร์นเรียบหรู กับหลังคาระบบสกรู

คำถามสั้นๆ ง่ายๆ ของลูกค้า จะเลือกแบบไหนดี ระหว่างหลังคาโมเดิร์นเรียบหรู กับหลังคาลอนสกรู เพราะหลังคาสวยๆ ก็อยากได้ แต่ก็กลัวงบบานปลาย นอกจากนี้ยังมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันอีกหลายเรื่อง ทำเอาตัดสินใจลำบากเลยทีเดียว

คำถามสั้นๆ ง่ายๆ ของลูกค้า จะเลือกแบบไหนดี ระหว่างหลังคาโมเดิร์นเรียบหรู กับหลังคาลอนสกรู เพราะหลังคาสวยๆ ก็อยากได้ แต่ก็กลัวงบบานปลาย นอกจากนี้ยังมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันอีกหลายเรื่อง ทำเอาตัดสินใจลำบากเลยทีเดียว

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจว่าจะเลือกอะไร ต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบก่อนครับ เพื่อจะได้ประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเสียเงิน จะได้ไม่เข้าตำรา “เสียน้อยเสียมาก เสียยากเสียง่าย” เพราะใครๆ ก็อยากได้หลังคาสวยและดี ในราคาสมเหตุสมผล และหมดกังวลในระยะยาว จริงไหมครับ บทความนี้มีเราคำแนะนำดีๆ มาฝากกันครับ สำหรับค่าใช้จ่ายแสดงอยู่ด้านล่างสุดครับ

หลังคาเรียบหรู แซนวิชพาแนล

หลังคาระบบสกรู

จะอธิบายเปรียบเทียบในแต่ละหัวข้อ จะได้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้ครับ

หลังคาโมเดิร์น แซนวิชพาแนล
KS CozySeam Sandwich Panel

หลังคาระบบสกรู
KS BHip29, KS BWing38

1. ความสวยงาม

  1. หลังคาสไตล์เรียบหรู โมเดิร์น ให้ความสวยงาม โดดเด่น มีเอกลักษณ์
  2. ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง ด้วยความสูงที่เพิ่มขึ้น เพราะระบบหลังคาวางอยู่เหนือแป (ฉนวนอยู่บนโครงแป)
  1. หลังคามีลักษณะลอนสกรูทั่วไป
  2. ความสูงจากพื้นถึงเพดานน้อยกว่า (Clear height) เนื่องจาก นิยมฉนวนเหนือฝ้าเพดาน

2. ลักษณะลอน

  1. รูปลอนหลังคาเรียบ และกว้าง
  2. หลังคาคอมโพสิต ประกอบด้วยแผ่นหลังคา, ฉนวนและฝ้าเพดานในตัว สำเร็จรูปมาจากโรงงาน
  3. หลังคาเป็นระบบซีม ไร้รอยเจาะบนแผ่น ทำให้สวยเนี้ยบ

  1. หลังคาสกรู มีหลายแบบ แต่ท้องลอนจะไม่เรียบ และแคบกว่า
  2. หลังคาจะแยกกับ ฉนวน และฝ้าเพดาน
  3. หลังคายึดด้วยสกรู ทำให้เห็นสกรูตลอดผืนหลังคา

3. ข้อมูลเทคนิค

  1. หลังคามุมลาดเอียงต่ำถึง 2 องศา
  2. ป้องกันการรั่วซึมได้ดีมาก เพราะไม่มีการเจาะแผ่น
  3. รับแรงกระทำได้ดี โดยทั่วไประยะแป 1.5 เมตร
  1. หลังคาเมทัลชีท มุมลาดเอียงต่ำสุดคือ 5 องศา
  2. มีโอกาสรั่วซึม ที่ตำแหน่งสกรู ต้องเลือกสกรูที่ดี และใช้ช่างที่ชำนาญ
  3. รับแรงกระทำได้ดี โดยทั่วไประยะแป คือ 1.5 เมตร

4. ฉนวนกันความร้อน

ฉนวน EPS ชนิดไม่ลามไฟ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย ฉนวนมีให้เลือกหลายชนิด ทั่วไปนิยมฉนวนใยแก้ว (วางเหนือฝ้าเพดาน)

5. การติดตั้ง

  1. ติดตั้งระบบหลังคารวดเร็ว สะดวกในขั้นตอนเดียว
  2. วางระบบหลังคาเหนือโครงแป
  3. ติดตั้งไร้การเจาะแผ่น แต่ยึดแผ่นด้วยการซีม ทำให้หลังคาสวยงาม
  4. งานปิดครอบเป็นแบบซ่อนสกรู ให้ความสวยงาม
  1. ติดตั้งทีละขั้นตอน
  2. การติดตั้งจะวางแผ่นหลังคาเหนือโครงแป ก่อนจะติดตั้งติดตั้งฝ้าและฉนวน จะต้องยึดโครงฝ้าทีบาร์ก่อน
  3. ติดตั้งด้วยสกรู จะต้องใช้สกรูคุณภาพ ไม่เช่นนั้นจะมีผลทำให้แผ่นเป็นสนิมและผุเร็วเกินไป รวมไปถึงมีโอกาสรั่วซึมได้
  4. งานปิดครอบ ก็ยึดด้วยสกรูเช่นกัน

6. ระยะเวลาการติดตั้ง (พื้นที่ 200 ตร.ม)

ระยะเวลาติดตั้งระบบหลังคา รวมงานแผ่นปิดครอบ ใช้เวลาทำการรวม 7 วันทำการ ระยะเวลาติดตั้งระบบหลังคา รวมงานแผ่นปิดครอบ ใช้เวลาทำการรวม 14 วันทำการ

7. งบประมาณ (ค่าของและค่าแรง)

รวมคือ 52,000 บาท รวมคือ 121,080 บาท

1) งานหลังคา รวมแผ่นครอบ

งานเหมา 50,000 บาท งานเหมา 30,000 บาท

2) งานฉนวน ค่าแรงปูฉนวน

ไม่มี เพราะหลังคามีฉนวนแล้ว 84 ม้วน x 370 บาท/ม้วน = 31,080 บาท

3) งานฝ้ายิปซั่มฉาบเรียบรวมโครง รวมงานทาสี (สีรองพื้น และสีจริง) ไม่รวมค่าแรงติดโคมไฟ

ไม่มี เพราะระบบหลังคามีฝ้าเพดานแล้ว 60-80 บาท/ตร.ม. = 12,000 บาท
(ฉนวนใยแก้ว 1 ม้วนได้ 2.4 ตร.ม)
250-300 บาท/ตร.ม = 12,000 บาท
180-200 บาท/ตร.ม = 36,000 บาท

4) ค่าสำรวจหน้างานเบื้องต้น

2,000 บาท 2,000 บาท

บทสรุป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่เอามาเล่าสู่กันฟัง จะทำให้ทุกท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะครับ ว่าอยากจะเลือกหลังคาแบบไหน ให้เหมาะกับความต้องการของเรา เพื่อที่จะได้ทั้งความสุข คุ้มค่า และจะทำให้เราได้อยู่กับบ้านแสนสุขไปนานๆ ครับ

ขอขอบคุณในการไว้วางใจเลือกใช้สินค้าและบริการของ KS Group ครับ...

By KS Group

STP Engineering & Supply Ltd.