นอกจากความสวยงาม และความแข็งแรงทนทานของหลังคาเมทัลชีทแล้ว อีกเรื่องที่ควรใส่ใจ ก็คือ เรื่องของการระบายน้ำฝนบนหลังคา เพราะเป็นอีกหนึ่งปัญหายามฝนมาเยือน ที่หลายท่านไม่อยากจะเจอ ก็คือ ปัญหาน้ำรั่วซึม นั่นเอง ฉบับนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันครับ
โดยทั่วไปมักจะพบเห็น บ้าน ออฟฟิศออกแบบสไตล์โมเดิร์น ซึ่งหลังคาจะลาดเอียงต่ำ ประมาณ 5 องศา หรือต่ำกว่านั้น แม้กระทั่งอาคารขนาดใหญ่ เช่น ห้าง หอประชุม ตลาด ซุบเปอร์มาร์เก็ต หรือโรงงาน เป็นต้น ก็ยังมีการออกแบบมุมลาดเอียงหลังคา 1-2 องศาเลยทีเดียว ยิ่งหลังคาที่ผืนยาว และมุมลาดเอียงต่ำ จะยิ่งเพิ่มโอกาสทำให้น้ำฝนสะสมจนเอ่อท่วมสันลอน และอาจจะระบายน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดหลังคารั่วตามมา ดังนั้น เราจึงควรเลือกรูปลอนหลังคา และระบบยึดแผ่นให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดหลังคารั่วเข้าไปในอาคาร
นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ต้องใส่ใจ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดหลังคารั่ว ด้วยนะครับ นั่นก็คือ
1. การระบายน้ำฝนของหลังคา ขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัดของรูปลอน ท้องลอน (B) ที่กว้างและสูง จะระบายน้ำได้ดีกว่า ท้องลอน (B) ที่แคบและตื้น โดยสินค้าของเรา KS Group มีข้อมูลการระบายน้ำฝนของแผ่นทุกรูปลอนครับ
2. ระบบยึดแผ่น ถ้าใช้หลังคาระบบไร้รอยเจาะ หรือหลังคาระบบซีม ซึ่งไม่มีการเจาะบนแผ่น จะป้องกันน้ำรั่วได้ดีกว่า หลังคาระบบสกรู นอกจากนี้ถ้ามุมองศาต่ำกว่า 5 องศา ไม่แนะนำ สำหรับหลังคาระบบสกรู
3. มุมลาดเอียงของหลังคา ยิ่งมุมต่ำ น้ำก็ไหลช้า มีโอกาสเกิดการสะสมน้ำฝนบนแผ่น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการแอ่นตัวจากโครงสร้างแป ที่จะมีผลทำให้องศาของหลังคาลดลงไปอีก
4. ความยาวของผืนหลังคา วัดจากสันบนจนถึงปลายชายคา ถ้าแผ่นยาวมาก ก็จะระบายน้ำได้ช้า
5. ปริมาณน้ำฝน ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย จะมีปริมาณน้ำฝนไม่เท่ากัน ถ้าภาคใต้จะมีฝนตกชุกกว่าภาคอื่นๆ สามารถหาข้อมูลได้จากค่าปริมาณน้ำฝนในรอบคาบ 50 ปี ดังตารางครับ
6. ช่องเปิดบนหลังคา (ถ้ามี) ก็จะไปขวางทางน้ำ โดยเฉพาะหลังคาบริเวณที่ติดกับช่องเปิด จะรับน้ำฝนมากกว่าจุดอื่น ทำให้เกิดการรั่วได้ง่าย
บทสรุป
ดังนั้น เราจึงต้องเลือกรูปลอนให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบายน้ำของแผ่น นอกจากนี้อย่าลืมให้ความสำคัญกับระบบยึดแผ่น และตรวจสอบค่าการระบายน้ำฝนของแผ่นด้วยนะครับ เพื่อจะได้หายกังวล หมดปัญหาน้ำรั่วซึมกับบ้านหรืออาคารของเรานั่นเอง