อยากใช้หลังคาเมทัลชีทคุณภาพ แต่ก็อดกังวลเรื่องหลังคาไม่ได้คุณภาพทำให้รั่วหรือแตกหัก ช่างไม่เชี่ยวชาญ หรืองานไม่เรียบร้อย เป็นต้น
ฉบับนี้เรา KS Group มีทางออกคลายกังวล แก้ปัญหาตรงจุด เพื่อให้เราได้หลังคาเหล็กเมทัลชีทที่มีคุณภาพ คุ้มค่า ได้งานสวยตรงใจ กับ 5 เรื่องต้องรู้ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อหลังคาและผนังเมทัลชีทมาฝากกันครับ นั่นก็คือ
- รูปลอนหลังคา ทำให้ได้รูปลักษณ์สวยตรงใจ มีเอกลักษณ์ ตอบโจทย์งานดีไซน์ตามสไตล์เรา
- คุณสมบัติแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท และระบบยึดแผ่น ส่งผลโดยตรงเพื่อให้ได้หลังคาที่แข็งแรงไม่แตกหัก ไม่รั่ว ไม่ร้าว
- การตรวจสอบคุณภาพแผ่นเมทัลชีท จากโรงงานผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ ทำให้เรามั่นใจว่าได้สินค้าที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่เลือกระบุไว้
- คุณภาพงานติดตั้ง เพื่อให้ได้งานสวย เรียบร้อย ตรงใจ
- คุณภาพวัตถุดิบ แผ่นเหล็กเคลือบกันสนิม จะมีผลกับการรับประกันสินค้า และอายุการใช้งาน
มาลงรายละเอียดกัน ในแต่ละหัวข้อกัน ครับ
1. รูปลอนหลังคา
ปัจจุบันมีรูปลอนหลายแบบ หลายสไตล์ ให้เลือกสรร ไม่ว่าจะสไตล์เรียบหรูโมเดิร์น สไตล์นอร์ดิกที่ให้ความทันสมัยผสมผสานความย้อนยุค สไตล์มินิมอลที่โดดเด่นเรียบง่าย หรือสไตล์อื่นๆ สวยงามแบบซ่อนสกรู สร้าง Mood & Tone ที่มีเอกลักษณ์ เพื่อตอบโจทย์งานดีไซน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนครับ
2. คุณสมบัติแผ่นหลังคาเมทัลชีท และระบบยึดแผ่น
บ่งบอกถึงความสามารถและความแข็งแรงของแผ่นหลังคา ในด้านต่างๆ ส่งผลโดยตรงเพื่อให้ได้หลังคาที่แข็งแรงไม่แตกหัก ไม่รั่ว ไม่ร้าว นั่นก็คือ
- ไม่แตกหัก (รับน้ำหนักช่างและการเดินบนหลังคาได้ดี) ซึ่งระยะพาดแปที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับรูปลอน และความหนาของแผ่นเหล็ก ซึ่งค่าระยะแปนี้จะมาจากการคำนวณ และทดสอบ โดยทั่วไปนิยมใช้ ที่ระยะ 1.50 เมตร แต่งานโครงการบางงาน พาดไปถึง 2 - 3 เมตรก็มี
- ป้องกันลม (แผ่นไม่ปลิว) ซึ่งค่าการรับแรงลม จะต้องมาจากการทดสอบทางวิศวกรรม และต้องมีใบรับรองผลด้วยนะครับ
- ป้องกันฝน (แผ่นไม่รั่ว) เพราะแผ่นสามารถระบายน้ำได้ดี ทำให้น้ำฝนไม่รั่วซึมลงสู่อาคาร
- ด้านอื่นๆ เช่น การดัดโค้งได้ดี สามารถทำมุมลาดเอียงหลังคาได้ต่ำ และรีดแผ่นยาวต่อเนื่องโดยไม่ต่อแผ่น (ขึ้นอยู่กับระบบการยึดแผ่น) ทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
3. การตรวจสอบคุณภาพแผ่นเมทัลชีท จากโรงงานผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ
ทำให้เรามั่นใจว่าได้สินค้าที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่เลือกระบุไว้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบสินค้าก่อนออกจากโรงงานผลิต โดยลูกค้าสังเกตได้จาก ใบ QC Pass หรือ ใบตรวจสอบสินค้า นั่นเอง เพื่อตรวจสอบความสม่ำเสมอของรูปลอนและอุปกรณ์ ในทุกๆ มิติ ทั้งความลึก หน้ากว้าง ความหนา รอยโค้งหยัก เป็นต้น รวมถึงความเรียบร้อยในการแพ็คกิ้งสินค้า และการบริการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สำหรับลูกค้าเอง เพื่อตรวจสอบสินค้า หากเกิดปัญหาในภายหลัง
4. คุณภาพงานติดตั้ง
เพื่อให้ได้งานสวย ตรงใจ ดังนั้นจึงควรมองหาช่างติดตั้งที่ได้มาตรฐานและคำนึงถึงความปลอดภัย เพราะถึงแม้ว่าจะได้แผ่นหลังคาที่ดีมีคุณภาพ แต่ถ้าติดตั้งไม่ดี จะส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบแผ่นหลังคาลดลง ทำให้หลังคาเสียหายและเกิดปัญหาภายหลังได้
5. คุณภาพวัตถุดิบ
แผ่นเหล็กเคลือบกันสนิม จะมีผลกับการรับประกันสินค้า ความทนทานและอายุการใช้งาน ซึ่งมีสิ่งที่ต้องพิจารณาดังนี้
5.1 ค่ากำลังของวัสดุเหล็กรีดเย็น (High strength of steel) ในงานโครงการส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้ค่ากำลังวัสดุ G550 (550 MPa) ซึ่งเป็นค่ากำลังที่สูง อาจพบค่า G300 (300 MPa) บ้าง แต่ไม่มากนัก
5.2 ชั้นเคลือบป้องกันสนิม ซึ่งมีผลต่อการรับประกันวัสดุเหล็ก แสดงถึงการป้องกันสนิม ความคงทนและอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นลูกค้าควรสอบถามใบรับประกันจากผู้ผลิต
งานโครงการ จะระบุชั้นเคลือบอลูซิงค์/ซิงคาลูม ด้วยปริมาณการเคลือบ 150 กรัมต่อตร.ม. (AZ150) ซึ่งรับประกันวัสดุสูงสุดที่ 20 ปี ในกรณี ที่เป็นเหล็กเคลือบสีคัลเลอร์บอนด์ นั่นคือ การอบเคลือบสีคุณภาพสูง ลงบนเหล็กเคลือบอลูซิงค์/ซิงคาลูม ทำให้รับประกันวัสดุสูงสุดที่ 30 ปี
- ถ้าอาคารในกลุ่มระดับกลางถึงล่าง จะใช้ชั้นเคลือบที่บางกว่านี้ ก็คือ 70 - 100 กรัมต่อตร.ม. (AZ70 – AZ100) การรับประกันก็จะลดลงมาเป็น 5 - 10 ปีตามลำดับ
- ถ้าเป็นแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีที่ใช้ในแคมป์คนงานก่อสร้าง จะมีปริมาณชั้นเคลือบที่บางลงอีก คือ ต่ำกว่า 70 กรัมต่อตร.ม. ซึ่งแน่นอนว่า ราคาจึงถูกมาก
5.3 มาตรฐานวัตถุดิบ เดี๋ยวนี้มีเหล็กหลากหลายมาก ทั้งเหล็กนำเข้า และเหล็กในประเทศ ดังนั้นอย่าลืมดูว่าเหล็กรีดเย็น ได้มอก.หรือไม่ ถ้าเป็นเหล็กเคลือบซิงคาลูม จะอ้างอิงมาตรฐานมอก. 2228 และสำหรับเหล็กเคลือบสี จะอ้างอิง มอก. 2753 แต่ถ้าในงานโครงการ จะอ้างอิงมาตรฐานต่างประเทศด้วย อย่างเช่น มาตรฐานออสเตรเลีย AS, มาตรฐานญี่ปุ่น JIS, มาตรฐานยุโรป หรือ มาตรฐานอเมริกา เป็นต้น
5.4 ความหนาแผ่น อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทความแรกๆ แผ่นเหล็กเปลือย ที่ใช้ส่วนใหญ่กับงานหลังคา จะมีความหนา 0.3 - 0.7 มม. (Base metal thickness, BMT) แต่โดยมาตรฐานงานโครงการ จะระบุสเปคที่ความหนาเหล็กเปลือย 0.42 มม. (BMT) ถ้านำไปเคลือบสารป้องกันสนิม ความหนาเหล็กรวมเคลือบอลูซิงค์/ซิงคาลูม (AZ150) จะเป็น 0.47 มม.(TCT) และถ้านำไปอบเคลือบสี ความหนารวมเคลือบสีจะเป็น 0.50 มม.(TCT)
ดังนั้นต้องระบุความหนารวมเคลือบให้ถูกต้องนะครับ ต่างกันเพียงนิด ความแข็งแรงต่างกัน แต่ในตลาดระดับกลางถึงล่าง มักจะใช้เหล็กที่มีความหนาและชั้นเคลือบที่บาง เพราะเน้นราคาถูก
บทสรุป
หลักๆ ให้พิจารณาก่อนเลือกซื้อ 5 ข้อ เพื่อว่าลูกค้าจะได้ของดี มีคุณภาพสูง ในราคาเหมาะสม เพื่อบ้านและอาคารของเราจะได้อายุใช้งานทนนานนานนับหลายสิบปี เป็นแผ่นหลังคาที่แข็งแรงทนแดด ทนฝน กันลม ไม่รั่ว ไม่ร้าว มีความปลอดภัยทางวิศวกรรม และมีความสวยงาม
“ตาดีได้ ตาร้ายเสีย” คำกล่าวนี้มิผิดเพี้ยน แต่ตาเราคงจะแยกแยะความต่างเหล่านี้ไม่ได้ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบ 5 ข้อตามที่แนะนำ และ สอบถามจากโรงงานผู้ผลิตก่อนเลือกซื้อนะครับ