งบประมาณน่ารู้ งานหลังคาเหล็กเมทัลชีท

งบประมาณน่ารู้
งานหลังคาเหล็กเมทัลชีท

อยากได้หลังคาที่ดี มีคุณภาพ สวยตรงใจ แต่ก็กังวลถึงเงินในกระเป๋า กลัวจะเจอปัญหาบานปลาย ฉบับนี้เรามีคำแนะนำดีๆ ให้เรามีความรู้ความเข้าใจกับค่าใช้จ่ายในงานหลังคาเหล็ก เพื่อจะได้บ้านสุขใจกับงบที่ (ไม่) บานปลาย กันครับ

บทความก่อนหน้า ได้กล่าวถึง "การเลือกซื้อหลังคาเหล็กอย่างไรให้มีคุณภาพ" แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้กังวลไม่แพ้กัน ก็คือ งบประมาณหรือเงินในกระเป๋านั่นเอง “ของดีราคาสมเหตุสมผล” คำนี้ใช้ได้เสมอครับ ฉบับนี้เรา KS Group จะมาเล่าให้ฟัง ถึงราคาที่เหมาะสมของงานหลังคา (เหล็ก) โดยจะลงรายละเอียดของวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในงานหลังคา

ในปัจจุบันนิยมนำวัสดุมุงหลังคา ที่เป็นแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีข้อดีหลายประการ ก็คือ น้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน ทนการกัดกร่อนได้ดี ติดตั้งได้ง่าย ทำให้ช่วยประหยัดค่าแรงช่างได้ดี อีกทั้งยังสามารถดัดโค้งได้ มีหลากหลายรูปลอนสีสรรให้เลือก สามารถมุงเป็นแผ่นยาวตามต้องการ จึงมีรอยต่อน้อยมาก ทำให้ป้องกันการรั่วซึมได้ดีนั่นเอง

ค่าใช้จ่ายในงานหลังคา จะประกอบด้วย ค่าวัสดุและค่าแรง โดยวัสดุจะหมายถึงแผ่นหลังคาเหล็ก และอุปกรณ์ติดตั้งมาตรฐานต่างๆ เช่น ขาคลิป สกรู แผ่นปิดครอบ ตัวปิดลอน เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์เสริมที่จะเพิ่มเพื่อใช้เฉพาะในบางงานตามความต้องการของลูกค้า ส่วนค่าแรงก็จะหมายถึงค่าแรงในการติดตั้งระบบหลังคา นอกจากนี้ ในกรณีงานขนาดเล็ก ช่างมุงหลังคาอาจจะคิดเป็นงานล่ำซำ หรืองานเหมามากกว่า หรือตามแต่จะตกลงกับลูกค้า

สำหรับงบประมาณในงานหลังคา จะมีอะไรบ้าง ขอลงรายละเอียดดังนี้ครับ

1. วัสดุแผ่นหลังคาเหล็ก และค่าแรงติดตั้ง

1.1 แผ่นหลังคาเหล็ก โดยทั่วไปที่นิยมใช้ มักจะเลือกใช้ความหนาแผ่นรวมชั้นเคลือบกันสนิม 0.47 มม. แผ่นมีหน้ากว้างใช้งาน 650-750 มม. (คิดจากระยะซ้อนทับแผ่น) ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกันไม่มากนัก ก็คือ ประมาณ 200-400 บาท/ตร.ม และราคา 300-400 บาท/ตร.ม สำหรับแผ่นเหล็กรวมเคลือบสี แต่ถ้ากรณีเป็นหน้ากว้างพิเศษ 350 มม. (ในรุ่น KS CozySeam) หรือ 950 มม. (ในรุ่น KS TripleSeam110) ราคาแผ่นจะต่างจากที่กล่าวไป

1.2 ค่าแรงติดตั้ง จะขึ้นอยู่กับระบบยึดแผ่นหลังคา เพราะแต่ละระบบยึดจะใช้อุปกรณ์และวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกัน ทำให้มีผลต่อค่าแรง นั่นก็คือ

A) ระบบยึดแบบยิงสกรู (Bolt system) อุปกรณ์ยึดที่ใช้คือ สกรู โดยจะใช้สกรูในการยึดแผ่นหลังคา ค่าแรงจะประหยัดกว่าระบบอื่น คือ ประมาณ 40-70 บาท/ตร.ม

B) ระบบยึดแบบซ่อนสกรู (Boltless system) อุปกรณ์ยึดที่ใช้คือ ขาคลิป/ ขาคอนเนคเตอร์

  • โดยแผ่นหลังคารุ่น KS Klipfix39 จะใช้ขาคลิปในการยึดและติดตั้งแบบขบล็อค มีค่าแรงประมาณ 60-100 บาท/ตร.ม
  • ส่วนรุ่น KS KlipSeam60 และ KS KlipSeam110 จะใช้ขาคอนเนคเตอร์ในการยึดและติดตั้งด้วยวิธีการซีม 180 องศา มีค่าแรงประมาณ 80-150 บาท/ตร.ม

C) ระบบยึดแบบ Standing Seam ซึ่งถือว่าเป็นการซ่อนสกรูเช่นกัน : อุปกรณ์ยึดที่ใช้ คือ ขามูฟคลิป และขาคอนเนคเตอร์ ในการยึดและติดตั้งด้วยวิธีด้วยการซีม 360 องศา มีค่าแรงประมาณ 80-150 บาท/ตร.ม

ในงานหลังคา ยังมีอุปกรณ์มาตรฐาน (Roofing Accessories) ซึ่งอุปกรณ์จะมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยทำให้แผ่นหลังคาทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ อาทิเช่น

2. แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Flashing)

จะใช้แผ่นครอบบริเวณรอยต่อต่างๆ ปิดเพื่อความสวยงาม และช่วยกันรั่วอีกด้วย เช่น แผ่นครอบสันจั่ว แผ่นครอบข้าง เป็นต้น

3. ตัวปิดลอน (End closer)

จะใช้ปิดช่องว่างสันลอน และ/หรือท้องลอน เพื่อป้องกันนกและหนูเข้าในบ้านและอาคาร

โดยข้อ 2 และข้อ 3 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 10-30% ครับ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ให้ลูกค้าเลือกสรร ตามความต้องการ เช่น

4. แผ่นบานเกล็ดระบายอากาศ (Louver, KS PureLover)

เพื่อระบายอากาศ และป้องกันสัตว์ขนาดเล็กเข้ามาบริเวณช่องว่างระหว่างบานเกล็ดด้วย

5. ฉนวนกันความร้อน

ถ้ามีฉนวนกันความร้อน จะต้องมีอุปกรณ์เสริมคือ ขา Tower support เพื่อป้องกันไม่ให้ฉนวนแอ่น หรือยุบตัว

6. อุปกรณ์อื่นๆ บนหลังคา

เช่น ชุดระบบหลังคาระบายอากาศ KS VentFlow, ชุดอุปกรณ์กันตกบนหลัง KS Safety Rooftop หรือ แผ่นโปร่งแสง (Skylight) เป็นต้น

บทสรุป

รายละเอียดหลักๆ ที่อยู่ในงานหลังคาเหล็ก ที่เรา KS Group นำมาแชร์ คงจะทำให้ลูกค้าได้หลังคาเหล็กที่ดี มีคุณภาพ ในราคาเหมาะสมที่คุมงบได้ เพื่อจะได้หมดกังวลกับงบที่ไม่บานปลายกันนะครับ

ขอขอบคุณในการไว้วางใจเลือกใช้สินค้าและบริการของ KS Group ครับ...

By KS Group

STP Engineering & Supply Ltd.