ทำไมต้องพับปลายแผ่นหลังคาขึ้น (Turn up) ก่อนจะปิดงานครอบจั่ว
เคยสังเกตไหมครับว่า งานหลังคาที่ได้มาตรฐาน สวยงามเรียบร้อย มักจะมีรายละเอียด เทคนิควิธีติดตั้งระบบหลังคาเหล็กเมทัลชีท งานปิดครอบ รวมไปถึงมีอุปกรณ์กันรั่วของระบบหลังคาที่ค่อนข้างเยอะ ทั้งนี้เพื่อจะให้ได้งานคุณภาพ และหมดปัญหากวนใจในภายหลัง ดังที่เคยเล่าให้ฟังในบทความต่างๆ ก่อนหน้านี้
สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะเคยสังเกตเห็น ก็คือ หลังจากที่ช่างมุงแผ่นหลังคาแล้ว ช่างจะทำการพับปลายแผ่นขึ้น (Turn up) บริเวณท้องลอนของแผ่น ด้วยอุปกรณ์ Turn up tool ก่อนที่จะปิดงานครอบจั่ว แล้วทำไมช่างต้องทำเช่นนั้นด้วย? ฉบับนี้มีคำตอบครับ
โดยปกติงานหลังคาเหล็ก มักจะมีมุมลาดเอียงหลังคาที่น้อยมาก คือ ไม่เกิน 5 องศา ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสในเรื่องน้ำรั่วซึม ยิ่งถ้ามีลมฝนเป็นปัจจัยร่วม ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่น้ำจะย้อนเข้ามาในบ้านหรืออาคารได้อีก ดังนั้นในการติดตั้งระบบหลังคาเหล็กที่ได้มาตรฐาน เราจึงต้องทำการ Turn up ท้องลอนของแผ่น บริเวณสันจั่วหลังคา เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลย้อน ต้องดูค่าการระบายน้ำฝนของแผ่น รวมถึงจะต้องมีอุปกรณ์แผ่นปิดกันนก (KS Steel Closer) ให้เหมาะสมกับรูปลอนหลังคา และการยาแนวซิลิโคนให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการป้องกันการรั่วซึมให้หมดไป อย่างไรก็ตาม การยาแนวซิลิโคน ก็ยังต้องมีเทคนิคเฉพาะ ในการยาแนวเพื่อเว้นร่อง เพื่อไม่ให้น้ำถูกขังในบริเวณครอบจั่วนั่นเอง
ปัจจจุบันนิยมใช้หลังคาเหล็กระบบไร้รอยเจาะสำหรับบ้านและอาคารต่างๆ ซึ่งจะมีเทคนิคติดตั้งและระบบอุปกรณ์กันรั่วที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจาะบนแผ่นหลังคา ป้องกันการรั่ว ทำให้เป็นระบบไร้รอยเจาะบนแผ่นอย่างแท้จริง ดังตัวอย่างด้านล่าง
นิยมใช้กับบ้าน อาคาร หอประชุม ติดตั้งแผ่นด้วยระบบขบล็อค ไร้รอยเจาะบนแผ่น นอกจากนี้ยังมีความพิเศษเพิ่มขึ้นก็คือ แผ่นครอบก็จะไม่ต้องเจาะแผ่นหลังคาเช่นกัน โดยเราจะต้องเพิ่มอุปกรณ์เสริมพิเศษ คือ ขายึด C-Clip Support และตัวปิดกันนก KS Steel Closer ทำให้ป้องกันการรั่วอย่างดีเยี่ยม
นิยมใช้กับบ้านสไตล์โมเดิร์น เรียบหรู ด้วยท้องลอนที่กว้างและเรียบ สวยงาม โดดเด่นโดยการซีมแผ่นด้วยระบบซีม ไม่มีการเจาะแผ่น สำหรับระบบอุปกรณ์หลังคากันรั่ว จะมีความพิเศษขึ้นอีก เพราะแผ่นครอบต่างๆ จะเป็นแผ่นครอบแบบซ่อนสกรู (Special Flashing Hidden Screw) เพิ่มความสวยงามไปอีกขั้น