หลังคาเป็นส่วนปกคลุมตัวอาคารบ้านเรือน เพื่อกันแดด กันฝนและกันลมที่เข้ามาปะทะ การออกแบบหลังคา จึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และในศาสตร์ฮวงจุ้ย รูปทรงหลังคายังมีส่วนกระตุ้นเรื่องโชคลาภให้กับผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
รูปทรงหลังคา มีหลายรูปทรง ทั้งหลังคาทรงเพิงแหงน ทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงโค้ง และทรงตัด
ประเภทของรูปทรงหลังคา
1. หลังคาทรงเพิงแหงน (Monopitch roof, Lean-to roof)
ลักษณะจะมีมุมเอียงทำมุมชันกับแนวนอนเพียงด้านเดียว เพื่อให้น้ำฝนและหิมะไหลลงได้สะดวก รูปทรงนี้ ทางฮวงจุ้ย ก็ถือว่าไม่ดี จะเก็บทรัพย์ไว้ไม่อยู่ ถึงแม้จะมีทรงที่เรียบง่ายที่สุด แต่ออกแบบให้สวยงามกับส่วนอื่นของอาคารได้ค่อนข้างยาก เพื่อเอาชนะอุปสรรคนี้ จึงพบเห็นสถาปนิกสมัยใหม่ออกแบบให้เป็นสไตล์โมเดิร์น
2. หลังคาทรงจั่ว (Gable roof)
เป็นหลังคาที่ได้รับการพัฒนามาจากหลังคาทรงเพิงแหงน ลักษณะจะเป็นจั่วสามเหลี่ยมมีมุมลาดเอียง 2 ด้าน ซ้าย-ขวา จะพบในบ้านทรงไทย บ้านสไตล์คลาสสิกในยุคกรีกและโรมัน ในทางฮวงจุ้ย จะถือว่า มุมแหลมคมของจั่ว เป็นรูปทรงไม่ดี มีแหลมคมจากศรพุ่งใส่ คนในบ้านจะบาดเจ็บ หรือสูญเสียทรัพย์ได้ ฟังแล้วค่อนข้างน่ากลัว แต่อย่ากังวลเกินไป เพราะผลกระทบคงไม่รุนแรงนัก ถ้ามองในเชิงจิตวิทยา ผลเสียน่าจะเป็นเรื่องของรูปทรงที่แหลมคม ซึ่งมีผลเชิงจิตใจ ทำให้เกิดทัศนคติในแง่ลบ ขาดความมั่นใจ ระแวง มีความกังวล
3. หลังคาทรงปั้นหยา (Hip roof)
ลักษณะจะมีมุมลาดเอียงทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง-ด้านข้าง เชื่อมกันด้วยตะเข้สัน 5 ตัว มีระยะยื่นชายคาโดยรอบเท่ากันทั้ง 4 ด้าน โดยน้ำจะไหลลงได้ทั้ง 4 ด้าน ในทางฮวงจุ้ย ถือว่าดี กระแสพลังซี่ไหลรอบบ้าน หมายถึงมีทรัพย์ ในปัจจุบัน นิยมทำหลังคาทรงปั้นหยา ที่มีความสวยงาม ในยุโรปนิยมนำมาใช้เป็นหลังคาคฤหาสน์หรูหรา
KS Group ขอนำเสนอรูปลอนหลังคา ที่สามารถนำไปดัดโค้งเป็นหลังคาทรงโค้งได้
KS BHip24 และ KS IcoSeam65
บทสรุปของรูปทรงหลังคา ตามหลักฮวงจุ้ย
อย่างไรก็ตาม ศาสตร์ฮวงจุ้ยในไทยได้แตกแขนงไปหลายด้าน ทั้งด้านความเชื่อ และด้านอิงวิทยาศาสตร์ โดยศาสตร์ของฮวงจุ้ยในด้านความเชื่อ จะถือว่ารูปทรงที่ดี มีพลังชี่ มีเพียงหลังคาทรงปั้นหยารูปทรงเดียว แต่อย่ากังวลเกินไป เพราะถ้ามองในศาสตร์ฮวงจุ้ยที่อิงวิทยาศาสตร์ จะมีการพิจารณาตัวแปรอื่นร่วมด้วย โดยรูปทรงหลังคาที่ดี คือ หลังคาที่มีลักษณะเรียบง่าย สามารถทำได้ทุกรูปทรง แต่ควรต้องเป็นผืนเดียวกันตลอดทั้งอาคาร ไม่ควรทับซ้อน หรือมีหลายชั้นมากเกินไป หากมองในมุมของงานก่อสร้าง การที่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น อาจก่อให้เกิดการรั่วซึม และยังเป็นแหล่งที่นก หนู หรือแมลงเข้ามาทำรังอาศัยอีกด้วย การมีหลังคาเรียบง่าย จึงสามารถดูแลได้ง่ายกว่า และยังช่วยให้รูปทรงบ้านเกิดสมดุลที่ดี